บริษัท อีซูซุ มอเตอร์ (ประเทศไทย) จำกัด ได้ทำการประกาศยุติการผลิตในประเทศไทยชั่วคราว หลังจากเจอพิษของโควิด-19 ทำให้ความต้องการของตลาดในประเทศและส่งออกหดตัวลง โดยบริษัท อีซูซุ มอเตอร์ ที่ได้ตัดสินใจระงับการผลิตนั่นก็คือโรงงาน 2 แห่งชั่วคราว คือที่ อ.พระประแดง จ.สมุทรปราการ และที่ นิคมอุตสาหกรรมเกตเวย์ซิตี้ จ.ฉะเชิงเทรา โดยเริ่มมีผลมาตั้งแต่วันที่ 13-30 เม.ย.
ซึ่งล่าสุด บริษัท อีซูซุ มอเตอร์ ได้มีการออกประกาศบริษัทที่ 10/2563
เพิ่มเติมออกมาอีก ถึงเรื่องหยุดสายการผลิตชั่วคราว และยุบการทำงานกะกลางคืน โดยสรุปว่า ให้พนักงานสายผลิตและสนับสนุนการผลิตโรงงานสำโรง มาทำงานปกติวันที่ 5-10 พ.ค. และให้ยุบการทำงานกะกลางคืน 11–31 พ.ค. ยกเว้นบางไลน์ผลิต และบางไลน์ผลิตให้สลับกันมาทำงาน
ส่วนพนักงานสายผลิตและงานที่สนับสนุนการผลิตโรงงานเกตเวย์ ตั้งแต่วันที่ 5–17 พ.ค. กำหนดให้สายการผลิตและสนับสนุนการผลิตทั้งรถเล็ก รถใหญ่ หยุดการผลิตชั่วคราว ยกเว้นบางไลน์การผลิต ให้ทำงานตามที่มอบหมาย หรือสลับกันมาทำงาน ส่วนวันที่ 18–31 พ.ค. ให้ยุบกะกลางคืนสายการผลิตรถเล็ก เหลือแต่การทำงานกะกลางวัน และให้สลับกันมาทำงาน ส่วนสายการผลิตรถใหญ่ ให้มาทำงานวันเว้นวัน เริ่ม 18 พ.ค.เป็นวันแรก
เรียกได้ว่ามีข่าวดี เกือบตลอดทั้งเดือนเมษายนที่ผ่านมาเลยก็ว่าได้ สำหรับ ประชาชนคนไทยที่ต้องใช้น้ำมัน ซึ่งล่าสุด ปตท. และ บางจาก ได้มีประกาศปรับลด “ราคาน้ำมัน” กลุ่มดีเซล 60 สต. ส่วนชนิดอื่นราคาคงเดิม มีผลวันวันนี้ตั้งแต่ตีห้า เป็นต้นไป
รายงานล่าสุด บมจ. ปตท. และ บมจ. บางจากปิโตรเลียม ได้ทำการประกาศออกมาแล้วว่าให้ ราคาน้ำมัน ในประเภทของ กลุ่มดีเซล ลดลงอีก 60 สตางค์/ลิตร ส่วนของชนิดอื่น ๆ นั้นยังคงมีผลตามเดิม เริ่มใน วันที่ 24 เม.ย. 63 ตั้งแต่เวลา 05.00 น.
โดยราคาใหม่ มีดังนี้ GSH95S อยู่ที่ 16.95 สตางค์/ลิตร, GSH91S อยู่ที่ 16.68 สตางค์/ลิตร, GSH E20S อยู่ที่ 15.44 สตางค์/ลิตร, GSH E85S อยู่ที่ 15.04 สตางค์/ลิตร, Hi Diesel B20S อยู่ที่ 14.64 สตางค์/ลิตร, Hi Diesel S B10 อยู่ที่ 14.89 สตางค์/ลิตร, Hi Diesel S อยู่ที่ 17.89 สตางค์/ลิตร, Hi Premium Diesel S อยู่ที่ 21.76 สตางค์/ลิตร, (ราคาดังกล่าวยังไม่รวมภาษีบำรุงท้องที่ กทม.).
ธปท.เปิดช่อง ‘ทางด่วนแก้หนี้’ ช่วยปชช.-ธุรกิจปรับโครงสร้างหนี้
ท่ามกลางสถานการณ์วิกฤติโควิด-19 มาตรการป้องกันโรคติดต่อย่อมส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ทั้งภาคประชาชนและธุรกิจต้องประสบปัญหาทางการเงินและภาระหนี้
การนี้ทางธนาคารแห่งประเทศไทย จึง เปิดช่องทาง “ทางด่วนแก้หนี้” ขึ้น เพื่อเป็นอีกช่องทางหนึ่งที่ประชาชนหรือธุรกิจที่ต้องการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ สามารถแจ้งความต้องการไปที่ผู้ให้บริการทางการเงิน โดยช่องทางนี้เป็นช่องทางเสริมในช่วงที่มาตรการเว้นระยะเพื่อลดการแพร่เชื้อ (Social distancing) อาจทำให้ติดต่อหรือเดินทางไม่สะดวก ทั้งนี้ ข้อมูลที่ได้รับผ่านช่องทางนี้จะถูกส่งต่อไปยังผู้ให้บริการทางการเงินที่ระบุไว้
ช่องทางนี้เป็นช่องทางที่ ธปท. จะช่วยประสานนำส่งคำขอปรับปรุงโครงสร้างหนี้ไปยังผู้ให้บริการ กรณีที่ท่านประสงค์จะติดต่อสอบถาม ร้องเรียนหรือแจ้งเบาะแส สามารถติดต่อได้ผ่านช่องทาง เบอร์โทร 1213 อีเมล fcc@bot.or.th หรือหน้าเว็บไซต์ www.1213.or.th
ข้อมูลที่คุณต้องมีในการกรอกแบบฟอร์ม
ชื่อ – นามสกุล / ชื่อนิติบุคคล (บริษัท ห้างหุ้นส่วน องค์กร)
หมายเลขบัตรประจำตัวประชาชน/ passport/ เลขจดทะเบียนนิติบุคคล (โปรดตรวจสอบข้อมูลให้ถูกต้อง)
เบอร์โทรศัพท์ และอีเมล
ผู้ให้บริการ (ธนาคาร)
ผลิตภัณฑ์ที่ท่านต้องการขอปรับปรุงโครงสร้างหนี้
-บัตรเครดิต
-บัตรกดเงินสด
-สินเชื่อส่วนบุคคล/ สินเชื่อจำนำทะเบียน
-สินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัย
-เช่าซื้อ เช่น รถยนต์ รถจักรยานยนต์
-สินเชื่อผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อม SMEs
-สินเชื่อประเภทอื่นๆ (โปรดระบุประเภทสินเชื่อ ยอดหนี้คงเหลือ สาขาที่ทำสัญญา หมายเลขบัตรหรือสัญญา)
แนวทางการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ที่ต้องการเสนอผู้ให้บริการทางการเงินให้พิจาณา (เลือกได้ไม่เกิน 3 ข้อ) *
ยืดระยะเวลาชำระหนี้
พักชำระเงินต้น
ลดอัตราดอกเบี้ย
ยกเว้นหรือผ่อนปรนดอกเบี้ยผิดนัดชำระหนี้
ต้องการเงินทุนหมุนเวียนเพิ่มเติม
เปลี่ยนประเภทหนี้ เพื่อให้ดอกเบี้ยถูกลง
ปิด/ชำระหนี้เร็วขึ้น
รีไฟแนนซ์ปิดสินเชื่อเดิม
อื่นๆ (โปรดระบุ)สาเหตุของปัญหาที่ทำให้ต้องการปรับปรุงโครงสร้างหนี้
Credit : แนะนำสถานที่ท่องเที่ยว | แต่งบ้านและสวน | พระเครื่อง | รีวิวกล้องถ่ายรูป